สถานการณ์สาธารณภัยในปัจจุบันมีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและซับซ้อนมากขึ้นมีสาเหตุเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศของโลกความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทยจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมืองอย่างรวดเร็วทำให้ประชาชนมีโอกาสอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความเสียหายจากสาธารณภัยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติเช่น วาตภัย อุทกภัย ภัยหนาว ภัยแล้ง และภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย ภัยจาก การคมนาคมขนส่ง อุบัติภัย และภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน และมีบทบาทภารกิจ ในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาภัยในลำดับแรกก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือประกอบกับพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 20 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่มีหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน โดยมีผู้บริหารท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น และแผนการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้กำหนดให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แห่งพื้นที่ (องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล/เมืองพัทยา) ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม ปฏิบัติการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่นและเผชิญเหตุเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น โดยมีผู้อำนวยการท้องถิ่น เป็นผู้ควบคุมและสั่งการเพื่อทำหน้าที่จัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติพร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงถือเป็นภารกิจสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการเผชิญเหตุและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ภายหลังจากสถานการณ์สิ้นสุดลง
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเริงรมย์ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมการแจ้งเตือนภัยและการดำเนินการช่วยเหลือให้แก่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ข้างเคียง ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และภายหลังเกิดภัย ถูกต้องตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ พ.ศ. ๒๕๕๘แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัพ.ศ.๒๕๕๘และสอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ และแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
|